The King

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พุทธศักราช 2549 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองการครองราชย์ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระบารมีแผ่ไพศาลกว้างไกล ทั้งในและต่างประเทศดังเห็นได้จากข่าวที่แพร่ทั่วโลกจากสื่อต่างประเทศที่ เข้ามาทำข่าวการเฉลิมฉลอง ในวันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดถึงพระอัจฉริยภาพ โดยเฉพาะพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พระองค์ได้ทรง ศึกษาค้นคว้าความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยทรงใช้หลักการพัฒนาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ “หลักแห่งธรรมชาติ” ซึ่งเป็นหลักการที่เรียบง่าย ประหยัดและสร้างระบบนิเวศน์ให้เกิดความสมดุลดังจะเห็นได้จาก โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ อย่างเช่น แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการฝนหลวง , โครงการแก้มลิง , โครงการแกล้งดิน , โครงการบำบัดน้ำเสียในกรุงเทพมหานคร อีกทั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานที่พระองค์ทรงค้นคว้าในการใช้พลังงาน จากธรรมชาติเพื่อทดลอง และสร้างระบบในการผลิตพลังงานจากธรรมชาติในโครงการพระราชดำริต่างๆ อาทิ เช่น การนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แกลบจากโรงสีข้าว ส่วนพระองค์ผลิตเป็นพลังงานความเย็น (Cooling) การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานในโครงการส่วนพระองค์ และโครงการวิจัยการแปรรูปอ้อยมาเป็นแอลกอฮอล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เป็นต้น จากผลการดำเนินงานโครงการต่างๆ ทำให้เกิดความรู้ในการจัดการแบบธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมซึ่ง ส่งผลให้สามารถนำแนวคิดจากโครงการต่างๆ มาแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประเทศได้โดยเฉพาะการสร้างให้เห็นคุณค่าของ พลังงานทดแทนเชื้อเพลิงที่นับวันจะมีปัญหาวิกฤติขึ้นทุกวันและเป็นการสร้าง จิตสำนึกในการใช้พลังงาน อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

โครงการ ส่วนพระองค์สวนจิตรดา เป็นการดำเนินงานโครงการผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากแนวพระราชดำริให้มีการศึกษาค้นคว้าและทดลองนำพลังงานทด แทนอื่นๆ มาแทนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำประโยชน์ ให้คุ้มค่าที่สุด โดยมีโครงการดังนี้

(1) โครงการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง (แกลบอัดแท่ง) พุทธศักราช 2518 มีพระราชดำริควรมีการนำแกลบที่เหลือใช้แล้วมาใช้งานให้เป็นประโยชน์ โดยการนำมาทำเป็นปุ๋ยสำหรับการปรับปรุงสภาพดินในการทำการเกษตรกรรมและยัง สามารถนำมาทำเป็นเชื้อเพลิง ซึ่ง
ช่วยลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าอีกวิธีหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ.2523 จึงเริ่มมีการนำแกลบมาทดลองอัดให้เป็นแท่งและแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงแท่ง ซึ่งเริ่มแรกโดยการนำแกลบสีข้าวจากโรงสีในสวนจิตรลดามาทดลอง ในการใช้งาน โดยได้รับความร่วมมือการวิจัยค้นคว้าจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทยในขณะนั้น
(2) โครงการผลิตน้ำเย็นโดยใช้พลังงานความร้อนจากแกลบ จากการนำแกลบที่ได้จากกระบวนการสีข้าวไปผลิตเป็นแกลบอัดแท่งเพื่อนำไปเป็น เชื้อเพลิงและโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ก็ยังคงมีแกลบเหลือมากกว่า 1,000 กก.ต่อวัน ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ จึงต้องนำไปประยุกต์ใช้งานให้คุ้มค่าในรูปแบบอื่นๆ ในปี พ.ศ.2545 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ศึกษาและพัฒนาโดยนำแกลบที่มีคุณสมบัติเป็น เชื้อเพลิงชีวมวลมาทำประโยชน์ในรูปพลังงานความร้อน และนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องทำความเย็นแบบดูดซึมชนิดใช้น้ำร้อน (Hot water Fired absorption Chiller) ผลิต น้ำเย็นสำหรับอาคารควบคุมสภาพแวดล้อมเพื่อการเพาะเห็ดเขตหนาวเป็นการทดลอง วิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรตามแนวพระราชดำริตลอดจนปรับอากาศให้กับอาคารวิจัย เห็ด อาคารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมทั้งศาลามหามงคลเพื่อจัดตั้งเป็นโครงการ ตัวอย่างสาธิตระบบผลิตน้ำเย็นโดยใช้พลังงานความร้อน

(3) โครงการบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ ศูนย์ การอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการพัฒนาพลังงานทหารกรมการพลังงาน ทหาร กระทรวงกลาโหม ได้จัดทำโครงการบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้น เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักสวนจิตรลดา เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 โดยได้ใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงพระอาทิตย์เฉลิมพระเกียรติ” ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ เป็นประธานในพิธีเปิดการใช้งานบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2539 โดยพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ในบ้านพลังงานแสงอาทิตย์นี้สามารถ ใช้เพื่อประจุแบตเตอร์รี่ใช้กับวิทยุ , โทรทัศน์ , ระบบแสงสว่างภายในบ้านและเครื่องปรับอากาศได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2542 เมื่อคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ได้มีการปรับปรุงระบบเซลล์แสงอาทิตย์ให้สมารถใช้งานได้ขึ้น และมีการเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้านครหลวง โดยผลจากการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์จากบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้ปริมาณ การใช้กระแสไฟฟ้าลดลงเท่ากับปริมาณที่ผลิตได้จากเดิมที่ต้องซื้อกระแสไฟฟ้า จากการไฟฟ้าฯ ซึ่งเป็นการช่วยลดการใช้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอันจะส่งผลให้มลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ กล่าวมาแล้วลดลงได้อีกหนึ่งทางอีกด้วย
(4) กังหันสูบน้ำในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา กังหันลมสูบน้ำจำนวน 2 เครื่อง ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ติดตั้งที่บริเวณด้านหน้าโครงการส่วนพระองค์ฯ และบริเวณโรงเพาะเห็ด ซึ่งกังหันลมสูบน้ำมีขนาดความกว้างของใบพัด 20 ฟุต จำนวน 45 ใบ ขนาดความสูง 18 เมตร ความสามารถในการสูบน้ำได้ 2,000 – 24,000 ลิตร / ชั่วโมง (ที่ความเร็วลม 4 – 30 กม./ ช.ม.) ท่อที่ใช้ในการดูดและส่งน้ำมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว โดยปัจจุบันกังหันลมทั้งสองได้ใช้สูบน้ำจากคลองรอบพระตำหนักเข้ามาที่บ่อ เลี้ยงปลานิลที่ด้านหน้าโครงการฯ และนำน้าจากคลองมาใช้ในการอุปโภคที่บริเวณโรงเพาะเห็ด

(5) โครงการน้ำมันไบโอดีเซล ในปี พ.ศ.2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้รับการทูลเกล้าถวายรางวัล “Brussels Eureka 2001” ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ใน 3 ผลงาน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “โครงการน้ำมันไบโอดีเซล สูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม” จากการจุดประกายความคิดดังกล่าวทำให้มีการเคลื่อนไหว ตื่นตัวในการศึกษาค้นคว้าทดลองและทำวิจัยเกี่ยวกับการนำน้ำมันพืชมาใช้เป็น เชื้อเพลิงกันอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่เป็นการน้ำมันและน้ำมันมะพร้าวมาใช้ ในเครื่องยนต์และเรียกเชื้อเพลิงที่ได้จากน้ำมันพืช นี้รวมๆ ว่า “ไบโอดีเซล” ในปี พ.ศ.2546 โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ร่วมกับโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง กลุ่มบริษัทแสงโสม กรมอู่ทหารเรือ บริษัทราชาไบโอดีเซล ไดดำเนินการสร้างอาคารและอุปกรณ์ผลิตไบโอดีเซลขึ้น ในบริเวณงานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยกระบวนการ อทธิลเอสเทอฟิเคชั่น วัตถุดิบที่ใช้คือ น้ำมันพืชใช้แล้วจากห้องเครื่อง (โรงครัวหลวง) โซดาไฟ และเอทธิลแอลกอฮอล์ 99.5% ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เปิดอาคารไบโอดีเซลดังกล่าว ต่อมาก็ได้ดำเนินการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจนถึงปัจจุบันกำลังการผลิตไบโอดีเซล ประมาณ 500 ลิตรต่อสัปดาห์นอกจากนั้นโครงการส่วนพระองค์ฯ ยังมีความสนใจพืชน้ำมันเพื่อเป็นเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะสบู่ดำ รวมทั้งดำเนินการวิจัยและทดลองผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสบู่ดำมาใช้ประโยชน์ใน ด้านอื่นๆ ด้วย

(6) โครงการทดลองผลิตแก๊สโซฮอล์ พ.ศ.2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชดำเนินตรวจเยี่ยมโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และได้มีพระกระแสรับสั่งให้มีการศึกษาต้นทุนในการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อยเพรา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้คาดการณ์ว่า อนาคตอาจเกิดเหตุการณ์น้ำมันขาดแคลน หรืออ้อยมีราคาตกต่ำ จึงได้มีการทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง โดยการนำอ้อยมาใช้เป็นพลังงานทดแทน เพื่อเป็นหนึ่งในแนวทางเพื่อแก้ปัญหานี้ได้ และต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารโครงการค้นคว้าน้ำมันเชื้อเพลิงและ มีการเริ่มผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย และในเดือนพฤษภาคมนั่นเอง การปิโตเลียมแห่งประเทศไทยหรือปัจจุบันเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพของแอลกอฮอล์ จากโครงการผลิตได้โดยได้ส่งแอลกอฮอล์ 95% ไปทำการกลั่นซ้ำเพื่อเป็นแอลกอฮอล์ 99% ณ สถาบันวิจัยฯ แล้วนำกลับมาผสมกับเบนซินธรรมดากลายเป็นแก๊สโซฮอล์ เพื่อเติมให้กับรถยนต์ เพื่อเติมให้กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง โดยสมารถเติมแก๊สโซฮอล์ได้จากสถานีบริการของ ปตท. ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

ดังจะเห็นได้ว่า จากพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงเป็นผู้คาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ และเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าทดลองหาวิธีทางแก้ไขปัญหาก่อนที่ปัญหานั้นๆ จะเกิดขึ้นจริงทำให้เกิดโครงการจากพระราชดำเนินที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ชาติและส่งผลต่อประชาชนของพระองค์โดยตรง ทำให้พสกนิกร ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขภายใต้ร่มฝ่าละอองธุลีพระบาท ซึ่งในหลวงทรงเป็นพ่อของแผ่นดินที่เสียสละเพื่อความสุขของปวงชนอย่างแท้จริง

ที่มา http://www.smartenergythailand.com

ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรม และเทคโนโลยี

คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่อง จากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอ ความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ

ที่มา : http://learners.in.th/blog/amrawiwan09

ฝายชะลอความชุ่มชื้น ผลิกฟื้นผืนป่าให้สมบูรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำ หรือ Check Dam หรือ ฝายชะลอความชุ่มชื้น ซึ่งสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ โดยปกติมักจะกั้นลำห้วยขนาดเล็ก ในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ฝายชะลอความชุ่มชื้นนี้ทำให้ต้นไม้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง พระองค์ทรงพระราชทานพระราชาธิบายถึงรูปแบบและลักษณะของฝายชะลอความชุ่มชื้น ดังพระราชดำรัสที่ว่า
…ให้พิจารณาดำเนินการสร้าง ฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสอง ข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็วและพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ…”




ฝายชะลอความชุ่มชื้น ตามแนวพระราชดำริ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ
1. แบบท้องถิ่นเบื้องต้น เป็นการสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น กิ่งไม้ และท่อนไม้ล้มขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในลำห้วย ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบง่ายๆ โดยก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ ซึ่งจะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำ และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้เป็นอย่างดี วิธีนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลยนอกจากใช้แรงงานเท่านั้น


2. แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร ก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ ก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน



3. แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็น การก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างเฉลี่ยประมาณ 40,000-50,000 บาท แล้วแต่ขนาดของลำห้วยซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน 4 เมตร



ประโยชน์ของฝายชะลอความชุ่มชื้น อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

  1. ช่วยลดการพังทลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีเพิ่มขึ้น และแผ่ขยายกระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่สองฝั่งของลำห้วย
  2. ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง
  3. เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่ จากการที่ความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้นความหนาแน่นของพันธุ์พืชก็ย่อมจะมีมากขึ้น
  4. การ ที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้บางส่วนนี้ทำให้เกิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคของมนุษย์และสัตว์ต่างๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย
ที่มา http://www.dnp.go.th/kingdnp/ORRI/Royal/Theory/Checkdam.html

เกษตรทฤษฎีใหม่

ความเป็นมา
ในทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดลพระทัยอันเป็นแนวคิดขึ้นว่า
  1. ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มเมล็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
  2. หากเก็บน้ำในที่ตกลงมาได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารภเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
  3. การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและ
    ข้อจำกัดของปริมาณที่ดินเป็นอุปสรรค
  4. หากแต่ละครัวเรือนมีสระนำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้ว เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ๋
    แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า
ที่มาแห่งพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่”

แรงดลพระราชหฤทัยในเรื่องนี้เกิดจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน บริเวณพื้นที่บ้านกุตตอแก่น ตำบลกุตสิมคุ้มใหญ่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2535 ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำรัสแก่บรรดาคณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2535 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรดา พระราชวังดุสิต ว่า
“...ถามชาวบ้านที่อยู่นั่นว่าเป็นอย่างไรบ้างปีนี้ เขาบอกว่าเก็บข้าวได้แล้วข้าวก็อยู่ตรงนั้นกองไว้เราก็ไปดูข้าว ข้าวนั้นมีรวงจริงแต่ไม่มีเมล็ดหรือรวงหนึ่งมีซักสองสามเมล็ด ก็หมายความว่า 1 ไร่ คงได้ข้าวประมาณซักถังเดียวหรือไม่ถึงถังต่อไร่ ่เขาทำไมเป็นอย่างนี้ เขาบอว่าเพราะไม่มีฝนเขาปลูกกล้าไว้แล้วเมื่อขึ้นมาก็ปักดำ ปักดำไม่ได้เพราะว่าไม่มีน้ำ ก็ปักในทรายทำรู ในทรายแล้วก็ปักลงไป เมื่อปักแล้วตอนกลางวันก็เฉามันงอลงไป แต่ตอนกลางคืนก็ตั้งตัวตรงขึ้นมาเพราะมีน้ำค้าง และในที่สุด ก็ได้รวงแต่ไม่มีข้าว ข้าวเท่าไร อันนี้เป็นบทเรียนที่ดี...แสดงให้เห็นว่าข้าวนี้เป็นพืชแข็งแกร่งมากขอให้ได้มีน้ำค้างก็พอ แม้จะเป็น ข้าวธรรมดา ไม่ใช่ข้าวไร่ ถ้าหากว่าเราช่วยเขาเล็กน้อยก็สามารถที่จะได้ข้าวมากขึ้นหน่อยพอที่จะกิน ฉะนั้นโครงการ ที่จะทำมิใช่ต้องทำโครงการใหญ่โตมากจะได้ผล ทำเล็กๆก็ได้ จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าในที่เช่นนั้นฝนตกดีพอสมควร แต่ลงมาไม่ถูกระยะเวลา...ฝนก็ทิ้งช่วง...”
จากพระราชดำรัสข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการที่ทรงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากปัญหาข้อเท็จจริงแล้วทรงวิเคราะห์เป็นแนวคิดทฤษฏีว่า
“...วิธีการแก้ไขก็คือต้องเก็บน้ำฝนที่ตกลงมา ก็เกิดความคิดว่าอยากทดลองดูสัก 10 ไร่ ในที่อย่างนั้น 3 ไร่ จะเป็นบ่อน้ำ คือเก็บน้ำฝนแล้ว ถ้าจะต้องบุด้วยพลาสติกก็บุด้วยพลาสติกทดลองดูแล้ว อีก 6 ทำไร่ทำเป็นที่นา ส่วนไร่ที่เหลือก็เป็นบริการหมายถึงทางเดินหรือกระต๊อบหรืออะไรก็ได้แล้วแต่หมายความว่า น้ำ 30 % ที่ทำนา 60 % ก็เชื่อว่าถ้าเก็บน้ำไว้ได้จากเดิมที่ เก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละ ประมาณ 1-2 ถัง ถ้ามีน้ำเล็กน้อยอย่างนั้นก็ควรจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละประมาณ 10 -20 ถังหรือมากกว่า ”
ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำรัสให้ทำการทดลอง “ทฤษฎีใหม่” เกี่ยวกับการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้น ณ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี แนวทฤษฎีใหม่ กำหนดขึ้นดังนี้
ให้แบ่งพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยมีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ ต่อครอบครัวแบ่งออกเป็นสัดส่วน คือ
ส่วนแรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตร โดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถน้น้ำนี้ไปใช้ได้ตลอดปี ทั้งยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชริมสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวอีทางหนึ่งด้วยดังพระราชดำรัสนวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่วัดชัยมงคลพัฒนาอังเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 ความตอนหนึ่งว่า
“...การเลี้ยงปลาเป็นรายได้เสริม ถ้าเลี้ยงปลาไม่กี่เดือนก็มีรายได้...”
ส่วนที่สอง : ร้อยะ 60 เป็นเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 10ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่างๆโดยบี่งพื้นที่นี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ
ร้อยละ 30 ในส่วนที่สอง ทำนาข้าวประมาณ 5 ไร่
ร้อยละ 30 ในส่วนที่สอง ปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพของพื้รที่และภาวะตลาดประมาณ 5 ไร่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าใน พื้นที่ทำการเกษตรนี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้งประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ถ้าหากแบ่งแต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง
ส่วนที่สาม : ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่เหลือมีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลอง ตลออดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ รวมพื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 15 ไร่
ตามสัดส่วน 30 – 30 – 30 – 30 – 10 ตามทฤษฎีใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานแนวพระราชดำริอันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญยิ่งในการดำเนินการ คือ
  1. วิธีนี้สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกรผู้เกป็นเจ้าของที่ดิน ที่มีพื้นที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็กๆ ประมาณ 15 ไร่
    (ซึ่งเป็นอัตราถือครองเนื้อที่การเกษตรโดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย)
  2. มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้ (self sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน
    โดยมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีกันในท้องถิ่น
  3. กำหนดจุดมุ่งหมายให้สามารถผลิตข้าวบริโภคได้เพียงพอตลอดทั้งปี โดยยึดหลักว่าการทำนา 5 ไร่
    ของครอบครัวหนึ่งนั้นจะมีข้าวพอกินตลอดปีซึ่งเป็นหลักสำคัญของทฤษฎีใหม่นี้
ทฤษฎีใหม่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเป็นทฤษฎีที่สมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริได้นั้น ทรงคำนึงถึงการระเหยของน้ำในสระหรืออ่างเก็บน้ำลึก 4 เมตร ของเกษตรการด้วยว่าในแต่ละวันที่ไม่มีฝนตกคาดว่าน้ำระเหยวันละ 1 เซนติเมตร ดังนั้นเมื่อเฉลี่ยว่าฝนไม่ตกปีละ300 วันนั้นระดับน้ำในสระลดลง 3 เมตร จึงควรมีการเติมน้ำให้เพียงพอเนื่องจากน้ำเหลือก้นสระเพียง 1 เมตรเท่านั้น
ดังนั้น การมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อคอยเติมน้ำในสระเล็ก จึงเปรียบเสมือนมีแท้งค์น้ำใหญ่ๆ ที่มีน้ำสำรองที่จะคอยเติมน้ำอ่างเล็กให้เต็มอยู่เสมอ จะทำให้แนวทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้นสระน้ำที่ราษฎรขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่นี้เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำ ในฤดูแล้ง ราษฎรสามารถสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้และหากน้ำในสระไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลงซึ่งจะช่วยให้มีน้ำใช้ตลอดปี ในกรณีราษฎรใช้น้ำกันมากอ่างห้วยหินขาวก็อาจมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ หากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักสมบูรณ์แล้วก็ใช้วิธีการสูบน้ำจากป่าสักมาพักในหนองน้ำใดหนองน้ำหนึ่ง แล้วสูบต่อลงมาในอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำใช้มาพอตลอดปี ทรงเชื่อมั่นในทฤษฎีนี้มาก ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
“...ให้ค่อยๆทำเพิ่มเติม ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น แล้วทีหลังในเขตนอกเหนือจาก 3,000 ไร่ เมื่อมาเห็นว่าทำได้ก็เชื่อแล้วนำไปทำบ้างแต่ต้องไม่ทำเร็วนัก บริเวณนี้ก็จะสนับสนุนได้ 3,000 ไร่ ช่วงเขาบอกได้ 700 ไร่ แต่ทฤษฎีของเราได้ 3,000 ไร่...”
ที่มา http://www.bpp.go.th/project/project_4.html

แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ เครื่องดักหมอก


แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ เครื่องดักหมอก

เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหมอกที่ ล่องลอยในอากาศว่า
หมอกสามารถกลายเป็นหยดน้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้ได้ เช่น ในกรณีหมอกปลิวมากระทบก้อนหินแล้วจับตัวเป็นหยดน้ำไหลลงสู่พื้นดิน ทำให้ต้นไม้สามารถเจริญงอกงามได้และเป็นแนวคิดที่ได้ถูกนำมาใช้ในบางประเทศ อย่างได้ผล โดยในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไปมักจะมีหมอกหนาแน่น ถ้าหากสามารถนำไอน้ำที่มีอยู่ในหมอกมาใช้ได้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างมหาศาลทางด้านการเกษตรเช่น การปลูกป่า เป็นต้น
วิธีการทำเครื่องดักหมอกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
1. ใช้วัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่ายและราคาถูก เช่น ตาข่ายไนล่อน เสื่อลำแพน ถุงปุ๋ยไนล่อน มาเป็นอุปกรณ์ทำเครื่องดักหมอก
2. สร้างแผงขึงด้วยวัสดุดังกล่าวดักไอน้ำจากหมอก โดยวางให้ตั้งฉากกับทิศทางลมพัดซึ่งจะทำให้ดักหมอกได้ในอัตราสูง
3. ในบางกรณีอาจสร้าง
ขึ้นได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น บางแบบอาจติดตั้งบนกังหันลมเพื่อให้แผงดักหมอกหันสู้ลมอยู่ตลอดเวลาหรือบาง ครั้งแผงดักหมอกอาจทำลักษณะอ่อนตัวเพื่อมิให้แผงโค่นลืมยามลมพัดแรง
4. ไอน้ำจากหมอกจะกระทบกับแผงดักหมอกทำให้เกิดลักษณะคล้ายหยดน้ำ น้ำที่เกิดขึ้นสามารถใช้ประโยชน์ในการปลูกป่า โดยอาจจะไม่ต้องเอาใจใส่ดูแลรดน้ำมากนักเพราะได้หยดน้ำธรรมชาตินี้ช่วยเหลือ อยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้แม้ในพื้นที่แห้งแล้ง
พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมว่า ...แผงดักหมอกนี้สามารถช่วยบังแดดบังลมกับต้นไม้ในระยะเวลาที่เริ่มทำการ ปลูกต้นไม้ หรือในระยะแรกที่ต้นไม้ หรือในระยะแรกที่เริ่มทำการปลูกต้นไม้ หรือในระยะแรกที่ต้นไม้เริ่มเติบโตขึ้นได้ด้วยส่วนวัสดุที่จะนำมาใช้ในการ ดักหมอกนี้ ควรจะเป็นวัสดุประเภทที่รูพรุนมากๆ เช่น ตาข่ายไนล่อน ซึ่งจะทำให้เกิดการจับตัวของหยดน้ำได้ดี อีกทั้งการใช้วัสุดที่เป็นเสื่อลำแพน การสานอย่าให้ทึบ ควรสานให้โปร่ง เนื่องจากในอากาศนั้นมีความชื้นอยู่แล้วจะทำให้เกิดการควบแน่นและกลั่นตัว เป็นหยดน้ำได้...
การใช้ถุงปุ๋ยมาเป็นวัสดุนั้นคาดว่าจะไม่ได้ผลเท่าที่ ควร เนื่องจากเมื่อหมอกมากระทบกับแผงดักหมอกนี้แล้วก็จะกระจายออกไป เพราะว่าถุงปุ๋ยมีความทึบและพื้นที่หนาแน่น มากเกินไป เครื่องดักหมอกจึงเป็นวัตกรรมรูปแบบหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เลือกใช้ให้เกิดประโยชน์สุขแผ่นดิน เป็นแนวคิดที่แสนง่ายแต่มิมีผู้ใดคิดถึงเรื่องใกล้ตัวเช่นนี้ทัดเทียม พระองค์จึงนับเป็นพระปรีชาสามารถก็กอปรด้วยพระอัจฉริยภาพสูงส่งยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหันน้ำชัยพัฒนา และนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค
ที่มา http://mali9422.blogspot.com/2007/12/blog-post_12.html

โครงการธนาคารข้าว

ความเป็นมา

เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของ
ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบ
อาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัด ประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิต
ทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตการณ์
เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ
เป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือ
บรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการ
ธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น


วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
  1. เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
  2. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร
  3. เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี
  4. เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจน
    และขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค
  5. เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของระบบสหกรณ์ซึ่งจะได้ดำเนินการที่สมควรต่อไป
  6. เพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยของราษฎรผู้ประสบภัยให้รู้จักอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
    มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ราษฎรมีความขยันขันแข็ง
    ในการประกอบอาชีพ
  7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่
  8. เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้รู้จักประหยัดทรัพย์
หลักการตั้งโครงการธนาคารข้า
  1. จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอหรือทราบว่าราษฎรขาดแคลนเพื่อบริโภคและไม่สามารถดำเนินการจัดหาข้าว เพื่อบริโภคในหมู่บ้านได้เพียงพอ
  2. ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวของหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่
  3. พิจารณาพื้นที่ที่จัดตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อหมู่บ้านบริวาร
  4. ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัยในการควบคุมและติดตามผล
  5. ไม่เป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้าย
ปัจจุบันกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33มีธนาคารข้าวในความรับผิดชอบ จำนวน 20 แห่ง
โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 2514 ณ บ้านห้วยหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ การดำเนินการได้ติดตามผล
การปฏิบัติทุกรอบเดือน ราษฎรได้กู้ยืมข้าว โดยมีคณะกรรมการในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการการดำเนินการที่ผ่านมา
ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ที่มาhttp://www.bpp.go.th/project/project_1.html

โครงการเศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ" พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู๋ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ทรงวิเคราะห์ ์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริม สร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็ง
ในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
" .... ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้นจะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรงด้วยการให้การศึกษาแลการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทําการเกษตรได้ และค้าขายได้.... "
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทําให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนว พระราชดําริของ " เศรษฐกิจพอเพียง " ซึ่งบได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพายึดติดอยู่กับกระแสจาก ภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงําความคติดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกินขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น " เศรษฐกิจพอเพียง " จึงได้สื่อความหมาย ความสําคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ
การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขายสะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มี่อยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเองทําให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจําเป็นที่ทําได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนําไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือวิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ " จิตวิญญาณ "คือ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "
ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลําดับความสําคัญของ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณเพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จํากัดซึ่งไร้ขอบเขตถ้าไม่สามรถควบคุมได้การใช้ทรพัยากรอย่างทําลายล้างจะรวดเร็วและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข( Maximizationof Satisfaction ) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกําไร ( Our loss is our gain ) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จํากัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง" คุณค่า " จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทําลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น " ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด " และขจัดความสําคัญของ " เงิน " ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกําหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้
รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ ( Demonstration Effects ) จะไม่ทําให้เกิดการสูญเสียจะทําให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน ( Over Consumption ) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน
การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลนแม้จะไม่รํ่ารวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทําให้รํ่ารวยมากขึ้นในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทําให้เกิดความเข้มแข็งและความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สําคัญคือการบริโภคนั้นจะทําให้เกิดความรู้ที่จะอยุ่ร่วมกับระบบรักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทํา เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ
ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสําหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า" มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ " บุคคล " กับ " ระบบ " และปรับความต้องการที่ไม่จํากัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกําไร และอาศัยความร่วมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สําคัญของระบบสังคม
การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนําเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติ มาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดําริในเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคําพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ว่า " ....ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร " ในการผลิตนั้นจะต้องทําด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทําโครงการแต่ไม่ได้คํานึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสําคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสําหรับใช้ในโรงงานนั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนํามาจากระยะไกล หรือนําเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นําเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะตํ่าลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทําให้ราคาตกหรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทําให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาดขายได้ในราคาที่ลดลง ทําให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน
การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจําวันของครอบตรัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจําวันและเพื่อจําหน่าย
2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่นเพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด “ การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”“ เศรษฐกิจพอเพียง” จะสำเร็จได้ด้วย “ ความพอดีของตน”
ที่มา http://www.bpp.go.th/project/project_19.html